Chiangdao Wildlife Sanctuary
EN
TH
"เก็บ" แค่ภาพถ่าย "ทิ้ง" ไว้แค่รอยเท้า
11 พ.ย. 2567 - 12 ก.พ. 2568
การเดินศึกษาธรรมชาติ
เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าพื้นที่เพื่อเดินศึกษาธรรมชาติ โดยอยู่ในกฏระเบียบของเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าเชียงดาว
ลงทะเบียนเดินศึกษาธรรมชาติ
ลงทะเบียนเดินศึกษาธรรมชาติ
ลงทะเบียน
ตรวจสอบการทะเบียนเดินศึกษาธรรมชาติ
ตรวจสอบการทะเบียนเดินศึกษาธรรมชาติ
ตรวจสอบ
เอกสารที่จำเป็น
เอกสารที่จำเป็น
ดาวน์โหลดไฟล์
สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเขต
ป่าดอยเชียงดาว แต่เดิมเป็นป่าที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นป่าเขาสูงชัน ประกอบด้วย เทือกเขาสูงสลับซับซ้อน อุดมไปด้วยป่าดงดิบเขาและป่าหลายประเภท รวมถึงมีสัตว์ป่าหลายชนิดอาศัยอยู่อย่างชุกชุม มียอดเขาที่สูงที่สุด คือ ยอดดอยหลวงเชียงดาว ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 2,225 เมตร
bannerbannerbannerbanner
สภาพภูมิอากาศ
ปกติแล้วยอดดอยหลวงเชียงดาวจะถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกหนาทึบตลอดทั้งปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูหนาวและฤดูฝน สภาพดิน ฟ้า อากาศทั่วไปจะหนาวเย็นตลอดฤดูหนาวและฤดูฝนอากาศชื้นพอประมาณ ฤดูร้อนในช่วงเวลากลางวันอากาศจะร้อน แต่ตอนกลางคืนสภาพอากาศจะหนาวเย็น
chiangdao
ฤดูฝน
chiangdao
ฤดูร้อน
chiangdao
ฤดูหนาว
chiangdao
ที่มาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว
ด้วยปัญหาการแผ้วถางโค่นล้มส่งผลต่อสภาพป่าและสัตว์นานาชนิด บางชนิดเป็นสัตว์ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์ กรมป่าไม้จึงได้ประกาศให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณป่าเชียงดาว ซึ่งครอบคลุมท้องที่ตำบลเชียงดาว ตำบลแม่นะ ตำบลเมืองงาย ตำบลเมืองคอง อำเภอเชียงดาว ท้องที่ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง และบางส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ทั้งหมด 521 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 325,625 ไร่ เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยเรียกว่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
พื้นที่ชีวมณฑล
หมายถึงพื้นที่อนุรักษ์สังคมพืชและสัตว์ในสภาวะของระบบนิเวศที่เป็นธรรมชาติ เพื่อรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรม และเพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะข้อมูลพื้นฐาน ทั้งในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติและที่ถูกเปลี่ยนแปลงไป
chiangdaochiangdaochiangdao
พืชพันธุ์ที่สำคัญ
ป่าดิบเขา
ป่าดิบเขา
เป็นป่าที่มีความชุ่มชื้นสูงที่สุด มักมีเมฆหมอกปกคลุมตลอดปีจะสังเกตได้จากพรรณไม้ต่าง ๆ ตามกิ่งก้าน จะปกคลุมไปด้วย มอส เฟินและพืชอิงอาศัยต่าง ๆ และพืชพื้นล่าง หลายชนิด ได้แก่ ก่วมขาว ก่อสร้อย เทพธาโร กร่าง ไม้ล้มลุกและพืชชั้นล่างที่พบมาก ซึ่งบางชนิดจะพบแทรกอยู่ทั่วไปตามหลืบหิน อาทิ ข้าหลวงหลังลาย ชาหิน เทียนนกแก้ว แพรกหิน รองเท้านารีฝาหอย
ป่าสนเขา
ป่าสนเขา
เป็นป่าที่ขึ้นบริเวณสันเขา สภาพของป่าสนเขามีพันธุ์ไม้ปรากฏอยู่น้อย ประกอบด้วยไม้ สนสามใบ สนสองใบ เป็นไม้เรือนยอดไม้ชั้นรองที่ขึ้นปนในป่าสนเขา ที่สำคัญได้แก่ ไม้ในวงศ์ก่อ เช่น ก่อแอบ ก่อสีเสียด ก่อเดือย เป็นต้นนอกเหนือจากไม้ก่อได้แก่ หว้า เหมือดคนตัวผู้ สารภีดอย เป็นต้น ในระดับไม้พุ่ม ประกอบด้วย มันปลา เป้งดอย ปรงเขา เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบกล้วยไม้ สกุลต่างๆ เช่นสกุลหวาย และสกุลสิงโต เป็นต้น
ป่าเบญจพรรณ
ป่าเบญจพรรณ
สภาพป่าโดยทั่วไปทางตอนล่างจะค่อยเริ่มเปลี่ยนลักษณะกลมกลืนกันไปกับป่าดิบแล้ง เป็นป่าเบญจพรรณขึ้น โดยมีไผ่บงดำ และ ไผ่ซางนวล เป็นหลัก พื้นดินถูกปกคลุมด้วยหญ้าแวง และมีไม้ต้นขึ้นทั่วไปได้แก่ เลียงมัน สกุลปอขี้แฮด และกว้าว จากนั้นก็จะแปรสภาพเป็นป่าที่มีไม้สักเป็นองค์ประกอบ ในช่วงพื้นที่แคบ ๆ โดยไม้สักที่ขึ้นได้ในสภาพธรรมชาติขึ้นปะปนอยู่กับมะส้าน แคหางค่าง ตะแบกเกรียบ สักผู้ และส้านแว้ นอกจากนี้ยังพบ ตีนฮุ้งดอย เทียนเชียงดาว และหญ้าเหลี่ยม สภาพของเขาหินปูนที่โผล่เป็นปุ่มป่ำจะพบเห็นได้มากขึ้นและเด่นชัดเจนขึ้นที่ระดับสูงขึ้นไปทำให้พรรณไม้ ต้นขนาดใหญ่ค่อยหมดไปในระดับนี้
สัตว์ป่าที่สำคัญ
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
สำรวจพบ 150 ชนิด จาก 84 สกุล ใน 27 วงศ์ เป็นสัตว์ป่าสงวน 2 ชนิด คือ เลียงผา และ กวางผา และสัตว์ป่าชนิดอื่น ๆ เช่น เสือลายเมฆ เสือไฟ แมวดาว ค่างแว่นถิ่นเหนือ ลิงภูเขา ลิงอ้ายเงี้ยะ เก้ง เป็นต้น
สัตว์ปีก
สัตว์ปีก
สำรวจพบ 383 ชนิด จาก 192 สกุล ใน 42 วงศ์ สำหรับนกที่พบและมีสถานะภาพใกล้สูญพันธุ์หรืออยู่ในภาวะถูกคุกคาม ได้แก่ นกกก นกแก๊ก นกกางเขนดง นกตั้งล้อ นกพญาไฟใหญ่ นกกางเขนน้ำ นกขุนทอง นกเปล้าหางแหลม นกกระรางหัวขวาน นกขุนแผนอกส้ม นกกินแมลงป่าอกสีน้ำตาล นกกินแมลงหน้าผากสีน้ำตาล นกขมิ้นท้ายทอยดำ เหยี่ยวภูเขา ไก่ฟ้าหลังขาว นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ นกปรอดเหลืองหัวจุก นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ นกบั้งรอกใหญ่ นกเขียงคราม นกที่หายากที่สุดซึ่งมีอยู่ในพื้นที่คือไก่ฟ้าหางลายขวาง
สัตว์เลื้อยคลาน
สัตว์เลื้อยคลาน
สำรวจพบ 91 ชนิด จาก 57 สกุล ใน 15 วงศ์ สัตว์เลื้อยคลานที่นับว่ามีปริมาณไม่มากนัก ได้แก่ เต่าปูลู ตะพาบน้ำ เต่าหก หรือเต่าเหลือง ตะกวด งูจงอาง งูสิง งูเหลือม ตุ๊กแก กิ้งก่าดง กิ้งก่าป่าสีน้ำเงิน เป็นต้น
คลังภาพ
chiangdao
chiangdao
chiangdao
chiangdao
chiangdao
chiangdao
สถานที่ตั้ง

Chiangdao Wildlife Sanctuary

Copyright © เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว 2023

Menu

Home

Information

Explore

Climate

Biosphere Reserve

Significant Flora

Significant Wild Animal

Gallery

Locations

Experiences

Contact Info

065-8156923

สำนักงานพื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว

053-456623 / 063-6515181

chiangdaowildlifefca16@gmail.com

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จ.เชียงใหม่

Follow us on